สารปรอท มักพบปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำ และดิน เป็นส่วนใหญ่ สาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังพบได้ในเครื่องสำอางและอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล เมื่อรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงของดิบเพื่อลดการได้รับสารปรอท

สารปรอท พบการสะสมในปลาทะเลและปลาน้ำจืด

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเรื่อง “เชยแล้วกินปลาแล้วฉลาด สมัยนี้กินปลาแถมปรอท” พบการสะสมปรอทในปลาทะเลและปลาน้ำจืดใน 8 พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เลย ขอนแก่น และจันทบุรี พบปริมาณการปนเปื้อนของปรอทเกิน 24 เท่าจากมาตรฐาน จนอาจนำมาสู่มินามาตะโมเดลในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคมีความวิตกเรื่องความปลอดภัยจากการบริโภคสัตว์น้ำจากแหล่งนั้น

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศและอาเซียน ด้านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้รวบรวมข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ปรอททั้งหมดในปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเล ตั้งแต่ปี 2563-2566 จำนวน 108 ตัวอย่าง

ทั้งนี้ พบปริมาณการปนเปื้อน อยู่ระหว่าง 0.001-0.840 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) ซึ่งไม่เกินค่าปนเปื้อนสูงสุดทุกตัวอย่าง โดยมีค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐาน 0.0025 มก./กก. และ 0.0010 มก./กก. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย พบว่า ปริมาณการได้รับสัมผัสจากปริมาณอาหารที่บริโภคสำหรับประชากรไทย ช่วงอายุ 3-5.9 ปี เฉลี่ยเท่ากับ 0.0004 ug/kg bw/week

ขณะเดียวกัน เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงปริมาณความเป็นพิษของสารปรอทต่อระบบประสาทในเด็ก ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความอ่อนไหวสูง ระบุค่าความปลอดภัย หรือ Provisional tolerable weekly intake (PTWI) เท่ากับ 1.6 ug/kg bw/week จะเห็นว่าปริมาณ การได้รับสัมผัสยังคงต่ำกว่าค่าความปลอดภัยมาก (น้อยกว่า 4,000 เท่า) แสดงว่าการบริโภคปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเล ของเด็กไทยและคนไทยยังคงมีความปลอดภัย

การสะสมสารปนเปื้อนเป็นอันตรายต่อชีวิต

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า สารปรอท (Mercury) มักพบปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำ และดิน เป็นส่วนใหญ่ สาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ขยะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังพบสารปรอทได้ในเครื่องสำอางและอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล

สารปรอทสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายรูปฟอร์ม ได้แก่ โลหะปรอท สารประกอบปรอทอนินทรีย์ และสารประกอบปรอทอินทรีย์ เช่น Methyl Mercury และ Ethyl Mercury โดยปกติสารปรอทเมื่อสะสมอยู่ในปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ จะอยู่ในรูปฟอร์มสารประกอบปรอทอินทรีย์ ซึ่งเป็นรูปฟอร์มที่มีความเป็นพิษสูงกว่ารูปฟอร์มอื่น และพบในสัดส่วนประมาณ 70%

ดังนั้น เมื่อรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ปอด ไต และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และเด็กเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุดต่อการได้รับสัมผัสสารปรอท

อย่างไรก็ดี จากผลการตรวจวิเคราะห์สารปรอททุกตัวอย่างมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลของไทย ยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ประชาชนสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย

โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ.2563 ออกตามความพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน กำหนดให้มีปริมาณสารปรอทได้ไม่เกิน 0.5-1.7 มก./กก. ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและชนิดของอาหาร อย่างไรก็ตามสารปรอทหรือโลหะหนักสามารถปนเปื้อนในอาหารได้ แม้การปรุงอาหาร โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ก็ไม่สามารถลดการปนเปื้อนได้

ดังนั้น ควรเลือกบริโภคปลากินพืช เช่น ปลาสลิด ปลานิล ปลาจีน เป็นต้น และบริโภคปลาผู้ล่าที่มีชีวิตยืนยาวกว่าชนิดอื่น ซึ่งอยู่ในระดับบนของห่วงโซ่อาหาร เช่น ปลาดาบ ปลาทูน่า เป็นต้น แต่พอเหมาะหรือน้อยลง เพื่อลดโอกาสการได้รับสัมผัสการปนเปื้อนปรอทหรือโลหะหนัก

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดบางชนิด ถือว่ามีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัย เพราะเสี่ยงเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับได้ พร้อมแนะว่าควรเลือกซื้อปลา สัตว์น้ำ และอาหารทะเลจากตลาดสดหรือสถานที่จำหน่ายที่เชื่อถือได้มีมาตรฐาน สะอาด สด ใหม่ เมื่อซื้ออาหารมาแล้ว หากไม่นำมาปรุงกินทันที ควรล้างทำความสะอาดแยกเก็บใส่ตู้เย็น และก่อนนำมาปรุงอาหาร ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ที่สำคัญเน้นปรุงสุกด้วยความร้อน และขอให้ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ และอุจจาระร่วง

สารปรอท

อันตรายจากสารปรอท

การสัมผัสกับปรอทอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง อันตรายไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัวด้วย เมื่อคุณใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ครอบครัวของคุณอาจหายใจเอาไอระเหยของปรอทหรืออาจสัมผัสได้โดยใช้สิ่งต่างๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนูที่ปนเปื้อนสารปรอท

บางคน รวมทั้งสตรีมีครรภ์ ทารกแรกคลอด และเด็กเล็ก มีความเสี่ยงที่จะเป็นพิษจากสารปรอทเป็นพิเศษ ทารกอาจอ่อนไหวเป็นพิเศษต่ออันตรายของสารปรอทที่อาจทำให้สมองและระบบประสาทที่กำลังพัฒนา ทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงเพราะปรอทจะถูกส่งไปยังน้ำนมแม่สู่ลูก

สัญญาณและอาการแสดงพิษจากสารปรอท

  • หงุดหงิด
  • กระวนกระวาย
  • ใจสั่น
  • การเปลี่ยนแปลงในการมองเห็นหรือการได้ยิน
  • ปัญหาความจำ
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ชาและรู้สึกเสียวซ่าในมือเท้าหรือรอบปาก

สารปรอทส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ธาตุและเมทิลเมอร์คิวรีเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางและอวัยวะอื่น ๆ การสูดดมไอปรอทเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อระบบประสาท ระบบย่อยอาหารและภูมิคุ้มกัน ปอดและไต และอาจถึงแก่ชีวิตได้ เกลืออนินทรีย์ของปรอทกัดกร่อนผิวหนัง ตา และทางเดินอาหาร และอาจทำให้เกิดพิษต่อไตหากกลืนกิน

ความผิดปกติทางระบบประสาทและพฤติกรรมอาจสังเกตได้หลังจากการหายใจเข้าไป การกลืนกิน หรือการสัมผัสทางผิวหนังของสารประกอบปรอทต่างๆ อาการต่างๆ ได้แก่ ตัวสั่น นอนไม่หลับ สูญเสียความทรงจำ ผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และความผิดปกติของการรับรู้และการเคลื่อนไหว สัญญาณที่ไม่แสดงอาการของความเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางสามารถพบเห็นได้ในผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสสารปรอทในระดับธาตุในอากาศ 20 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรหรือมากกว่าเป็นเวลาหลายปี มีรายงานผลกระทบของไต ตั้งแต่โปรตีนที่เพิ่มขึ้นในปัสสาวะไปจนถึงไตวาย

ประเภทของปรอทมีพิษ

ปรอทที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มี 3 ประเภท ได้แก่

  1. ธาตุปรอท (ปรอทเหลว ปรอทเงิน) จะพบธาตุปรอทในเทอร์โมมิเตอร์แบบแก้ว สวิตช์ไฟฟ้า หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และวัสดุอุดฟัน
  2. ปรอทอนินทรีย์ พบปรอทอนินทรีย์ในแบตเตอรี่ สารฆ่าเชื้อบางชนิด และในห้องปฏิบัติการเคมี
  3. ปรอทอินทรีย์ พบปรอทอินทรีย์ในควันถ่านหิน ปลาที่กินเมทิลเมอร์คิวรี (รูปแบบหนึ่งของปรอทอินทรีย์) และน้ำยาฆ่าเชื้อรุ่นเก่า (สารฆ่าเชื้อโรคเช่นปรอทสีแดง)

อาการพิษปรอทอนินทรีย์

ปรอทอนินทรีย์เป็นพิษเมื่อกลืนกิน เมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย สารเคมีจะเดินทางผ่านกระแสเลือดและโจมตีสมองและไต มีอาการของพิษปรอทอนินทรีย์ดังนี้

  • รู้สึกแสบร้อนในท้องและ/หรือลำคอ
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ท้องเสีย
  • เลือดในอาเจียนหรืออุจจาระ
  • ปัสสาวะเปลี่ยนสี

อาการพิษปรอทอินทรีย์

ปรอทอินทรีย์ทำให้เกิดอาการหากสูดดม (หายใจเข้า) หรือสัมผัส อาการจะไม่เกิดขึ้นทันทีและมักเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสกับสารประกอบเป็นเวลานาน (อาจเป็นปีหรือหลายสิบปี) แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่การได้รับสารปรอทอินทรีย์ในปริมาณมากในคราวเดียวอาจทำให้เกิดอาการได้ อาการของพิษปรอทอินทรีย์จากการสัมผัสเป็นเวลานาน ได้แก่

  • รู้สึกชาหรือปวดทึบในบางส่วนของร่างกาย
  • อาการสั่น (สั่นที่ไม่สามารถควบคุมได้)
  • เดินไม่นิ่ง
  • มองเห็นภาพซ้อนหรือมองเห็นไม่ชัด ตาบอด
  • สูญเสียความทรงจำ
  • อาการชัก

 

ผู้ที่ตั้งครรภ์และสัมผัสกับเมทิลเมอร์คิวรีในปริมาณมาก (ปรอทอินทรีย์ชนิดหนึ่ง) อาจทำให้สมองเกิดความเสียหายต่อทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์รับประทานปลาในปริมาณจำกัดหรือนำปลาออกจากอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ การได้รับสารปรอทอินทรีย์ในระยะยาวเป็นอันตรายถึงชีวิต หากสัมผัสกับสารปรอทอินทรีย์บ่อยครั้ง ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม เช่น หน้ากากและถุงมือ เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสารประกอบ

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  ouatcel-carton.com

สนับสนุนโดย  ufabet369